ประวัติความเป็นมา



ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ขุดคลองมหาสวัสดิ์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2403 เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปพระปฐมเจดีย์ และเป็นคลองเปิดที่ให้เป็นนาสำหรับแจกพระเจ้าลูกยาเธอทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง ศาลา ริมคลอง ทุกระยะ 4 กิโลเมตร ซึ่งต่อมาได้เรียกชื่อต่าง ๆ ออกไป เช่น ศาลาธรรมสพน์ กล่าวกันว่าเป็น ศาลา ที่ตั้งศพ เพื่อทำพิธีฌาปนกิจ ศาลายา (ซึ่งอยู่บริเวณ หมู่ที่ 3 ต.ศาลายา ปัจจุบัน) เป็น ศาลา ที่จารึก ยา เอาไว้ให้ใครไปมาสามารถจดจำเอาไปใช้ได้ และจึงได้เกิดชุมชน ศาลายา ขึ้น 
    ศาลายา ในอดีตได้หายไปจาก ต.ศาลายา แล้ว เนื่องจากในปี พ.ศ. 2490 ได้มีการขุดลอกคลองโดยเรือขุด (เรือกระบวย) ทำให้ศาลา ต่าง ๆ รวมทั้ง ศาลายา หายไป จากข้อมูลตำแหน่งของ ศาลายา น่าจะอยู่ตรงตำแหน่งเสาโทรเลขรถไฟที่ 19/1 ตรงกิโลเมตรที่ 19 ซึ่งตรงกับป้ายสถานีรถไฟศาลายาด้านตะวันออก และเมื่อมองตรงไปทางคลองจะเห็นอยู่ตรงหน้าวัดสาลวันพอดี



 สภาพทั่วไปของตำบล
          มีเนื้อที่ประมาณ 15.11  ตร.กม. หรือคิดเป็น 9,444 ไร่ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มมีแหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำคลอง 9 คลอง สภาพดิน เป็นดินเหนียว อุ้มน้ำได้ดี เหมาะแก่การเพาะปลูก
อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม


ทิศใต้ ติดกับ ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลศาลากลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม



ข้อมูลอาชีพของตำบล


อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่


อาชีพเสริม รับจ้าง

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล       
1.แหล่งท่องเที่ยวเกษตรวัดสุวรรณ
เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
มาจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ระยะทางประมาณ 15   กม. และเส้นทางถนนสายเพชรเกษม เมื่อถึงกิโลเมตรที่  22   แล้ว   เลี้ยวไปตามทางพุทธมณฑลสาย   4  ระยะทางประมาณ 10  กม.
สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 660 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของพื้นที่
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขตตั้ง 


  
ทิศเหนือ : ติดเขตตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
ทิศใต้ : ติดเขตตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันออก : ติดเขตตำบลศาลากลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันตก : ติดเขตตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐ

เนื้อที่

องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา มีเขตรับผิดชอบเนื้อที่ประมาณ 18.23 ตารางกิโลเมตร หรือ 11,393 ไร่
องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำคลอง 9 คลอง สภาพดิน เป็นดินเหนียว อุ้มน้ำได้ดี เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำการเกษตร
ตำบลศาลายาประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน ซึ่งมีหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศาลายาหมู่ที่ 1-5 หมู่บ้าน
ลำดับที่
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนประชากร
ชาย
หญิง
รวม
1
1
บ้านวัดสุวรรณ
912
1,087
1,999
2
2
บ้านคลองโยง
1,119
1,280
2,399
3
3
บ้านหนองแค
929
943
1,872
4
4
บ้านตาพิน
261
247
508
5
5
บ้านสาลวัน
9,341
10,564
19,905
6
5
ตำบลศาลายา(ทะเบียนกลาง)
4,963
5,792
10,755
7
6
บ้านพุทธมณฑล
1,112
1,173
2,285
รวม
18,637
21,086
39,723


 ภูมิประเทศ
 เขตการปกครอง
หมู่ที่ 6 อยู่ในเขตเทศบาล  ส่วนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา มีดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านวัดสุวรรณ
หมู่ที่ 2 บ้านคลองโยง
หมู่ที่ 3 บ้านหนองแค (มีบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลศาลายา)
หมู่ที่ 4 บ้านตาพิน (มีบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลศาลายา)
หมู่ที่ 5 บ้านสาลวัน (มีบางส่วยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลศาลายา)
หมูที่ 6 เขตเทศบาลศาลายา
ประชากร


ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นเป็นที่ราบลุ่ม สูงจากระดับน้ำทะเล 5 เมตร สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นดินเหนียว
ทิศเหนือ : ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
ทิศใต้     :  ติดต่อกับ ตำบลบางเตย ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ ตำบลศาลาแดง เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล
  
ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลศาลายา

๑. ขนาดและสถานที่ตั้ง


    วัดหทัยนเรศวร์ มีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๔๐ ตารางวา ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๕๒ หมู่ที่ ๕ ตำลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

๒. ความเป็นมาของการก่อตั้งวัด

    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ คุณหญิงสมนึก เปรมวัฒนะ พร้อมด้วยบุตร-ธิดา ได้มีจิตรศรัทธายกที่ดินจำนวน ๕ ไร่ ๔๐ ตารางวา ถวายให้หลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระโสภณสมาธิคุณ (เฟือง ปิยธมโม ป.ธ.๕) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจ้ามูลและเจ้าคณะแขวงท่าพระ กรุงเทพมหานคร สร้างเป็นสำนักสงฆ์เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล แด่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงได้ตั้งนามว่า สำนักสงฆ์หทัยนเรศวร์ พุทธศักราช ๒๕๓๒ มีท่านพระครูพรหมสราภิรักษ์ (พระครูปลัดสาโรจน์) เจ้าอาวาสวัดพรหมรังสี ได้ดำเนินการสร้างศาลาไม้เป็นหลังแรกชั่วคราวเพื่อให้ทันเข้าพรรษในปีนั้น เมื่อถึงวันเข้าพรรษาได้มีพระครูประศาสน์ฉวีเขต จอ. เป็นประธานสงฆ์ในปีแรก โดยมี พระครูสมุห์ดวง ฐิตธมโม ผจร.วัดเจ้ามูลรับภาระดูแลและพัฒนาการก่อสร้างวัดตลอดมา
    พุทธศักราช ๒๕๓๖ ได้ดำเนินการซื้อที่ขยายสำนักสงฆ์หทัยนเรศวร์ เพิ่มอีก ๑ ไร่เศษ จนได้ครบ ๖ ไร่ เพื่อจะได้ตั้งวัดให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ และในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๖ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงประกาศตั้งสำนักสงฆ์หทัยนเรศวร์ขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนามีนามว่า วัดหทัยนเรศวร์ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ การตั้งชื่อวัดแห่งนี้ ว่า วัดหทัยนเรศวร์ ก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย ผู้ทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าในสมัยอยุธยา

เริ่มแรกเจดีย์สีขาวใช้เป็นที่เก็บหนังสือธรรมพระไตรปิฎกและเป็นที่พักให้กับผู้ที่มาปฏิบัติธรรมที่วัดหทัยนเรศวร์ต่อมาเมื่อภาคเรียนที่ 1/49 ได้เข้าไปกราบของความเมตตาต่อพระเดชพระคุณเจ้าพระครูถาวรธรรมาภิมณฑ์  เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ท่านได้ให้ความเมตตาต่อการศึกษาจึงอนุญาตให้ใช้เจดีย์สีขาวเป็นสถานที่พบกลุ่มและจัดกิจกรรมของ กศน.ภายในเจดีย์ เพราะ กศน.สามารถให้ความรู้แก่ประชาชนและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่ไม่มีเวลาเรียนในระบบและเพื่อให้ประชาชนทั่วไปมาศึกษาเพื่อนำวุฒิที่ได้ไปปรับตำแหน่งและระดับเงินเดือน
         กศน.ตำบลศาลายา  จัดพิธีเปิดป้าย กศน.ตำบล  วันอาทิตย์ที่   4   กรกฎาคม   พ.ศ.2553 
โดยนายเผดิมชัย   สะสมทรัพย์    สมาชิกสภา  ผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต 2

                                                                      
 คณะกรรมการ กศน.ตำบลศาลายา



                                  . พระครูถาวรธรรมาภิมณฑ์ (เจ้าอาวาสวัดหทัยนเรศวร์) ประธาน


นางมาลิณี      เลาหสุวรรณพานิช  (กรรมการ)           นายอำนวย       เหมือนวงศ์ธรรม(กรรมการ)

นางสาวสุภัทรา       ลบล้ำเลิศ    (กรรมการ )        นายบุญธรรม     แก่นลออ (กรรมการ)


นางสาววรรณรดา   เลิศลบ   (กรรมการ)                     นางยุพา        เขียวคำรพ  (กรรมการ)



นายสมชาย        เชาว์ไวพจน์   (กรรมการ          นางสาววิลาวัลย์   สินล้อมทรัพย์  (กรรมการ)



นางสุมาลี       เสมา   (กรรมการ)       นางสุเนตรา         อินทรสุตต์    เลขานุการและกรรมการ